มทร.ธัญบุรี ใช้ ‘โซเชียล แล็บ’ ขับเคลื่อนการเรียนยุค 4.0 ส่งนักศึกษาลงพื้นที่ ช่วยชุมชน แก้ปัญหาการตลาด - Android

Get it on Google Play

มทร.ธัญบุรี ใช้ ‘โซเชียล แล็บ’ ขับเคลื่อนการเรียนยุค 4.0 ส่งนักศึกษาลงพื้นที่ ช่วยชุมชน แก้ปัญหาการตลาด - Android

มทร.ธัญบุรี จัดนิทรรศการ ‘มาร์เก็ตติ้งเดย์ 2018’ ขับเคลื่อนการเรียนในยุค 4.0 ของคณะบริหารธุรกิจ พร้อมใช้ห้องปฏิบัติการทางสังคมหรือ ‘โซเชียล แล็บ’ บ่มเพาะว่าที่นักบริหารก่อนเข้าสู่โลกการทำงาน

The post มทร.ธัญบุรี ใช้ ‘โซเชียล แล็บ’ ขับเคลื่อนการเรียนยุค 4.0 ส่งนักศึกษาลงพื้นที่ ช่วยชุมชน แก้ปัญหาการตลาด appeared first on AripFan.

มทร.ธัญบุรี จัดนิทรรศการ ‘มาร์เก็ตติ้งเดย์ 2018’ ขับเคลื่อนการเรียนในยุค 4.0 ของคณะบริหารธุรกิจ พร้อมใช้ห้องปฏิบัติการทางสังคมหรือ ‘โซเชียล แล็บ’ บ่มเพาะว่าที่นักบริหารก่อนเข้าสู่โลกการทำงาน

การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอต่อการศึกษาในปัจจุบัน โดยเฉพาะศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ยิ่งต้องได้รับการฝึกฝน ลงมือปฏิบัติ เติมเต็มประสบการณ์ที่เข้มข้น เพื่อจะเป็นนักบริหารอย่างมืออาชีพต่อไป

ดังเช่น การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานผสมผสานกับบริการวิชาการ โดยให้นักศึกษาลงพื้นที่จริงในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและธุรกิจเอสเอ็มอี ศึกษาประเด็นปัญหา วิเคราะห์และแก้ปัญหาด้านการตลาด นำสิ่งที่เรียนมาช่วยหาคำตอบในเชิงธุรกิจ เพื่อพัฒนาและต่อยอดให้ธุรกิจเติบโต ยั่งยืนและเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการขับเคลื่อนการเรียนในยุค 4.0 ของคณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี ภายใต้หัวเรือใหญ่ ผศ.ดร.นาถรพี ชัยมงคล คณบดีคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ที่ใช้ห้องปฏิบัติการทางสังคมหรือ ‘โซเชียล แล็บ’ บ่มเพาะว่าที่นักบริหารก่อนเข้าสู่โลกการทำงาน

การไปช่วยชุมชน แก้ปัญหาการตลาดของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาด มทร.ธัญบุรี สะท้อนผ่านการจัดนิทรรศการ ‘มาร์เก็ตติ้งเดย์ 2018’ ที่ผ่านมา ความสนุกสนานและเรื่องราวทางการตลาดที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ขอเริ่มต้นที่ตัวแทนนักศึกษาสาวทั้ง 4 กลุ่มดังนี้

เริ่มต้นที่ “พร” พรพิชญา รักสะนะวารี ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องหนังบุญเพ็ง จ.สระแก้ว เล่าว่า กลุ่มตนเองได้สอบถามพูดคุยกับเจ้าของกลุ่มเครื่องหนังบุญเพ็ง แบรนด์ BURAWA และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล จนได้โซลูชั่นในการเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ คือกลุ่มวัยรุ่นและวันทำงานตอนต้น โดยแนะนำให้ออกแบบกระเป๋าใบเล็กสำหรับใส่ธนบัตร เศษสตางค์และบัตรเครดิต

เนื่องจากก่อนหน้านี้จะผลิตกระเป๋าที่มีรูปร่างและขนาดใหญ่จึงเหมาะกับผู้ใหญ่มากกว่า และเมื่อกลุ่มเครื่องหนังบุญเพ็งได้ปรับการผลิตขึ้นใหม่ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และได้เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์โดยเฉพาะเพจ Facebook จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และมียอดสั่งที่เพิ่มขึ้นด้วย

“เจ้าของผลิตภัณฑ์ก็เรียนรู้จากเรา และพวกเราก็เรียนรู้จากเขาเช่นเดียวกัน…เพราะการทำธุรกิจทุกวันนี้ หากหยุดเรียนรู้หรือหยุดพัฒนา จะไม่มีทางสำเร็จ”

ขณะที่ “ปิ่น” สรินภัสร์ อัครวีรนนท์ ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนอรรถวีร์ ขนมกง จ.ปทุมธานี เล่าว่า ได้ช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ช่วยทำการตลาดออนไลน์ และร่วมจัดแสดงสินค้าตามงานต่าง ๆ สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น กลุ่มตนเองได้รางวัลชนะเลิศอันดับ1 ในงานมาร์เก็ตติ้งเดย์ 2018

“บรรจุภัณฑ์หรือแพคเกจจิ้ง มีบทบาทด้านการสื่อสารการตลาด” จึงได้ปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดความสนใจ ตอบโจทย์ทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์และผู้บริโภค โดยเลือกนำเสนอความเป็นไทย ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ก็ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยเช่นกัน

“ชอบการเรียนในลักษณะนี้ เนื่องจากเรียนแล้วสามารถนำความรู้มาใช้ได้จริง และได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือระหว่างกันและกัน” และขอบคุณวิสาหกิจชุมชนอรรถวีร์ ขนมกง ที่ให้ความอนุเคราะห์และเปิดใจเรียนรู้ไปด้วยกัน รวมถึงขอส่งกำลังใจให้วิสาหกิจชุมชนทุกรายโดยเฉพาะขนมไทยโบราณ ให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง ปรับตัวก้าวทันสังคมและดำเนินต่อไปได้

“พลอย” ฐิตาภรณ์  โคมลอย ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนฟาร์มเห็ดกลางบ้าน จ.ปทุมธานี เล่าว่า การไปเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้านการตลาด ได้บรรยากาศมากกว่าการเรียนบรรยายในห้อง ตนและเพื่อนได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบแพจเกจจิ้งและใช้การสื่อสารการตลาด

“เราเข้าไปค้นหาปัญหา หาแนวทางแก้ไขและนำเสนอให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งมีอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม” ปัจจุบันกระแสด้านสุขภาพยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่อง ถือเป็นข้อดีของธุรกิจฟาร์มเห็ด จึงได้แนะให้ปรับสูตรน้ำเห็ดเพื่อให้ดื่มได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการปรุงรสชาติเพิ่มเติมด้วยน้ำผึ้ง ซึ่งผลตอบรับดีมาก เห็นได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริ้งค์ จึงตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าสายสุขภาพวัยทำงาน “แนวทางที่ประสบความสำเร็จเช่นนี้ ก็กระตุ้นให้ผู้ประกอบการธุรกิจเกิดไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มากยิ่งขึ้น”

พลอย ยังกล่าวด้วยว่านอกจากการลงพื้นที่จริงแล้ว ยังได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ ‘มาร์เก็ตติ้งเดย์ 2018’ ที่รวบรวมความสำเร็จและองค์ความรู้ไว้มากมาย ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี มีการแบ่งงานกันทำ ได้ฝึกการนำเสนอโดยเฉพาะเรื่องการแสดง ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของนักบริหารการตลาด ที่สำคัญยังสร้างเครือข่ายที่ดีเพื่อการทำงานต่อไปหลังจากสำเร็จการศึกษา

ปิดท้ายด้วย “พิมพ์”  พิมพ์ชนก  ศรีจันทร์ ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนบ้านวังยายฉิม จ.นครนายก เล่าว่าการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน หรือ Work Integrated Learning เป็นการเรียนรู้ที่แตกต่างจากรูปแบบเดิมที่เรียนมา ไม่ได้เรียนแค่ในห้องเรียน แต่ให้นักศึกษาเรียนรู้ไปกับชุมชนสังคม ใช้ความรู้วิชาการการตลาดมาต่อยอดและเพิ่มช่องทางการขายให้กับวิสาหกิจชุมชน ตามความต้องการของชุมชนและเจ้าของธุรกิจอย่างแท้จริง วิสาหกิจชุมชนบ้านวังยายฉิม เป็นธุรกิจสมุนไพรในย่านาง เช่น น้ำย่านางสกัดเย็น วุ้นย่านาง รวมถึงแชมพูและสบู่ และได้ร่วมวางแผน จัดทำเอกสารเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เข้าสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาวต่อไป “กิจกรรมครั้งนี้ เป็นการเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ทำให้เข้าใจบริบทของธุรกิจที่กว้างขึ้น” จะติดตาม ช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนบ้านวังยายฉิมต่อไป เพราะถือเป็นครูการตลาด ที่เปิดพื้นที่ให้นักศึกษา มทร.ธัญบุรี ได้ลงพื้นที่ทำงานจริง“อยากเห็นวิสาหกิจชุมชนของประเทศไทย เติบโต เข้มแข็งและหยัดยืนต่อไปได้”       

การหาคำตอบในเชิงธุรกิจเพื่อช่วยชุมชนนี้เป็นการเชื่อมทฤษฎีสู่การปฏิบัติ กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม เติมเต็มประสบการณ์ให้กับนักศึกษา และที่สำคัญยังช่วยผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสามารถแข่งขันและดำเนินธุรกิจต่อไปได้…ในยุค 4.0

The post มทร.ธัญบุรี ใช้ ‘โซเชียล แล็บ’ ขับเคลื่อนการเรียนยุค 4.0 ส่งนักศึกษาลงพื้นที่ ช่วยชุมชน แก้ปัญหาการตลาด appeared first on AripFan.

20/12/2018 09:40 AM